05-จดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด50เขตในกรุงเทพจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด50เขตในกรุงเทพ

จดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดเขตคันนายาว

รับจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด

ลักษณะของบริษัทมหาชนจำกัด

บริษัทมหาชนจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความ ประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
อาจสรุปได้ว่า พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ได้กำหนดลักษณะโครงสร้างของบริษัทมหาชนจำกัดไว้ ดังนี้

  1. จำนวนผู้ถือหุ้น มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
  2. ทุนจดทะเบียน ไม่มีการกำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไว้
  3. มูลค่าหุ้นและการชำระเงินค่าหุ้น หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
  4. จำนวนกรรมการ ต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งต้องมีที่อยู่ในประเทศไทย
การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด

การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด อาจดำเนินการโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

  1. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เริ่มโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คน ขึ้นไปดำเนินการ จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ แล้วดำเนินการจัดทำหนังสือชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้น หรือเมื่อผู้เริ่มจัดตั้งได้จองซื้อหุ้นทั้งหมดครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ก็จะเรียกประชุมจัดตั้งบริษัท หลังจากนั้นผู้เริ่มจัดตั้งจะต้องส่งมอบกิจการและเอกสารทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการของบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับเลือกตั้ง เพื่อนำความไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต่อไป
    ดูคำแนะนำขั้นตอนการจดทะเบียนตั้งบริษัทมหาชนจำกัด
  2. การแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทเอกชนอาจแปรสภาพเป็น บริษัทมหาชนจำกัดได้ เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    ดูคำแนะนำขั้นตอนการแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
“ให้เราเป็นตัวช่วยเสริมความมั่นคงของทุกธุรกิจ”

รับจดทะเบียนบริษัท ราคา 9,500 บาท


ราคารวม VAT 7% ค่าบริการและค่าธรรมเนียมต่างๆ แล้ว

รับจดทะเบียนบริษัท ราคาพิเศษ 9,500 บาท *** (ราคารวม VAT7%) ไม่มีจ่ายเพิ่ม
หมายเหตุ
*** ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท
หากทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท ติดต่อพนักงานเพื่อสอบถามรายละเอียด
*********************

สิ่งที่ลูกค้าได้รับ
ฟรี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฟรี ออกแบบตรายางให้ 3 แบบ
ฟรี ตรายางหมึกในตัว 1 อัน
ฟรี เอกสารสำหรับเปิดบัญชีธนาคาร
ฟรี แบบฟอร์มเอกสารทางบัญชี
ฟรี นามบัตรสำหรับออกใบกำกับภาษี
ฟรี คอร์สอบรมผู้ประกอบการใหม่ (มูลค่า 5,900 บาท)
ใบสำคัญจดทะเบียนพาณิชย์
หนังสือรับรองบริษัท
รายละเอียดวัตถุประสงค์บริษัท
รายงานการประชุมตั้งบริษัท
หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2)
รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3)
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
ออกแบบเว็บไซต์ องค์กร/หน่วยงาน ราคาพิเศษ 5,000 บาท

*** สิทธิพิเศษมากมาย โปรดติดต่อ Line@ : @chonlatee เพื่อรับข้อเสนอ
หรือสอบถาม โทร : 083-622-5555

รับจดทะเบียนบริษัท 9,500 บาท
จดทะเบียนบริษัท

การควบบริษัท


บริษัทมหาชนจำกัดตั้งแต่บริษัทสองบริษัทขึ้นไป หรือบริษัทมหาชนจำกัดกับบริษัทเอกชน จะควบกันเป็นบริษัทมหาชนจำกัดก็ได้ โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทที่จะควบเข้ากันลงมติไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยในกรณีที่เป็นการควบกับบริษัทเอกชนที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเอกชนนั้น จะต้องมีมติพิเศษให้ควบกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ขั้นตอนการจดทะเบียนควบบริษัทมหาชนกับบริษัทเอกชน


สถานที่ยื่นคำขอจดทะเบียน

การยื่นขอจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ยื่นต่อนายทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  2. ยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของ บริษัทตั้งอยู่
  3. ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงนายทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด


การจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนต้องชำระค่าธรรมเนียมตามประเภทการจดทะเบียนต่างๆ ดังนี้

  1. การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิบริษัท
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาทแห่งจำนวนทุนที่จดทะเบียนไว้ 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
  2. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ
    เพื่อเพิ่มทุนก่อนจดทะเบียนเป็นบริษัท
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดเพิ่มขึ้น 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
  3. การจดทะเบียนบริษัท
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาทแห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 250,000 บาท
  4. การจดทะเบียนแปรสภาพบริษัทเอกชน
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
  5. การจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท
    แห่งจำนวนทุนที่กำหนดเพิ่มขึ้น 1,000 บาท เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น
    1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 250,000 บาท
  6. การจดทะเบียนลดทุนบริษัท 500 บาท
  7. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิบริษัท นอกจากกรณีเพิ่มทุนตาม 2. 500 บาท
  8. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัท 500 บาท
  9. การจดทะเบียนตั้งกรรมการใหม่ คนละ 500 บาท
  10. การจดทะเบียนควบบริษัท 10,000 บาท
  11. การจดทะเบียนเลิกบริษัท 500 บาท
  12. การจดทะเบียนเรื่องอื่นๆเรื่องละ 500 บาท
  13. การออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 200 บาท
  14. การขอสำเนาหรือขอให้ถ่ายเอกสารพร้อมทั้งคำรับรอง หน้าละ 50 บาท ถ้าเป็นการขอสำเนาหรือ ขอถ่ายเอกสาร พร้อมทั้งคำรับรองของบริษัทนอกเขตจังหวัดอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทนั้น ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้เท่าที่จำเป็นและใช้จ่ายไปจริง
  15. การรับรองข้อความในใบทะเบียน เรื่องละ 40 บาท

หน้าที่ของบริษัทมหาชนจำกัด


  1. บริษัทต้องยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น วันประชุมสามัญประจำปีต่อนายทะเบียนภายใน 1 เดือน นับแต่วันเสร็จการประชุม
  2. บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจำปี สำเนางบการเงิน สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับ อนุมัติงบการเงิน การจัดสรรกำไร และการแบ่งเงินปันผลไปยังนายทะเบียนภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินนั้นและต้องโฆษณาทางหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 วัน
  3. บริษัทต้องจัดทำป้ายชื่อไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขา
  4. บริษัทต้องแสดงชื่อ ที่ตั้งสำนักงาน และเลขทะเบียนไว้ในจดหมายประกาศใบแจ้งความ ใบส่งของและใบเสร็จรับเงิน
  5. บริษัทต้องจัดทำใบหุ้นมอบแก่ผู้ถือหุ้นภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็น บริษัทมหาชนจำกัด หรือนับแต่วันที่ได้รับเงินค่าหุ้นครบและได้จดทะเบียนเพิ่มทุนแล้ว
  6. บริษัทต้องจัดทำทะเบียนผู้ถือหุ้น ทะเบียนกรรมการ รายงาน การประชุมคณะกรรรมการ และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท เก็บไว้ ณ สำนักงานแห่งใหญ่หรือเก็บไว้ที่บุคคลอื่นที่ได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบแล้ว
  7. บริษัทต้องจัดทำและเก็บรักษา บัญชี งบดุล บัญชีกำไรขาดทุน รวมทั้งให้ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบ และนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  8. บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจำปีของคณะกรรมการ งบดุล บัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบแล้ว ให้ผู้ถือหุ้นพร้อมหนังสือนัดประชุมสามัญประจำปี
  9. บริษัทต้องโฆษณาทางหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับเอกสารดังต่อไปนี้
    1. หนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
    2. หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
    3. การจ่ายเงินปันผล
    4. งบดุลที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ
    5. การเพิ่มทุนและลดทุน ภายหลังได้รับจดทะเบียนแล้ว
ติดต่อจดทะเบียนบริษัท

เราให้มากกว่าแค่ จดทะเบียนบริษัท


ด้วยความชำนาญ และประสบการณ์ ในงานด้านจดทะเบียนธุรกิจ กว่า 10 ปี มีลูกค้าไว้ใจให้เราดำเนินการจดทะเบียนบริษัท กว่า 1,000 ราย/ปี  ลูกค้าที่จดทะเบียนบริษัทกับเรา จะได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สูงสุด และเราจะพยายามรักษาสิทธิ์ต่างๆ ที่ลูกค้าพึงได้รับ เมื่อดำเนินการจดทะเบียน เพราะเราเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเริ่มต้นธุรกิจ และการดำเนินธุรกิจในระยะยาวให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืน ซึ่งคำแนะนำของเราล้วนเป็นเป็นประโยชน์ และช่วยเรื่องความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ

  • การจัดสรรผู้ถือหุ้นในบริษัท
  • อำนาจของกรรมการ
  • วัตถุประสงค์ที่ครอบคลุมธุรกิจในระยะยาว
  • การตลาดและสื่อประชาสัมพันธ์
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่เราให้คำแนะนำลูกค้าของเรา
สอบถามรายละเอียดหรือปรึกษาก่อนจดทะเบียนบริษัท
Line@ : @chonlatee (คลิ๊กเพื่อคุยไลน์)
Tel : 083-622-5555 (คลิ๊กเพื่อโทร)
รับจดทะเบียนบริษัท

เขตคันนายาว เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร

จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางเขนและเขตคลองสามวา มีคลองตาเร่ง คลองลำชะล่า คลองจรเข้บัว (หกขุด) คลองคู้ชุมเห็ด และคลองคู้บอนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองสามวาและเขตมีนบุรี มีคลองคู้บอนและคลองบางชันเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสะพานสูง มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบึงกุ่ม มีคลองกุ่ม ถนนเสรีไทยฟากใต้ คลองระหัส คลองลำปลาดุก คลองหนองแขม คลองหลวงวิจิตร คลองบางชวดด้วน และถนนรามอินทราฟากใต้ เป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่อเขต
ประมาณปี พ.ศ. 2386 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบางจนได้รับชัยชนะ และได้กวาดต้อนครอบครัวจากหัวเมืองรายทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบคลองกุ่ม ต่อมามีผู้คนอพยพเข้าไปอยู่อาศัยในย่านนี้และย่านใกล้เคียงมากขึ้น พื้นที่บางส่วนกลายเป็นที่ทำนาผืนใหญ่ ในการทำนาก็จะมีการสร้างแนวดินให้พูนสูงขึ้นจากท้องนาเพื่อกั้นที่นาเป็นส่วน ๆ หรือเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับปลูกข้าว ซึ่งก็คือ “คันนา” มีที่นาอยู่ผืนหนึ่งใกล้กับคลองแสนแสบ กินอาณาเขตตั้งแต่ท้ายหมู่บ้านสุเหร่าแดง (ปัจจุบันคือบริเวณถนนเสรีไทย) ไปสิ้นสุดตรงบริเวณที่เรียกว่า “โรงแดง” เพราะเป็นที่ตั้งของบ้านหลังหนึ่งที่มุงหลังคาสังกะสีเป็นสนิม มองเห็นเป็นสีแดงแต่ไกล (ปัจจุบันคือบริเวณถนนรามอินทรา) เรียกได้ว่าเป็นนาที่มีคันยาวมากที่สุด จึงสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อ “คันนายาว”

ประวัติ 
ตำบลคันนายาว ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นท้องที่การปกครองท้องที่หนึ่งของอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยในปี พ.ศ. 2506 กระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลคันนายาวด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[8] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลคันนายาวจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคันนายาว อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ

ด้วยเหตุที่เขตบางกะปิมีเนื้อที่กว้างขวางมากและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในปี พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ โดยจัดตั้งเขตบึงกุ่ม ประกอบด้วยแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงแยกจากเขตบางกะปิ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กันยายนเป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม หลังจากแบ่งเขตใหม่แล้ว เขตบึงกุ่มยังคงมีท้องที่กว้างขวางและมีประชากรหนาแน่น ประกอบกับความเจริญทางด้านสาธารณูปโภคได้หลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยแยกแขวงคันนายาว รวมกับหมู่ที่ 3, 11 (บางส่วน) ของแขวงคลองกุ่ม และหมู่ที่ 1, 2, 9, 10 (บางส่วน) ของแขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว จัดตั้งเป็น เขตคันนายาว

และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงคันนายาวเต็มพื้นที่เขตคันนายาวอย่างเป็นทางการ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สำนักงานเขตคันนายาวได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกพร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตสายไหม เขตสะพานสูง เขตหลักสี่ เขตวังทองหลาง และเขตคลองสามวา โดยใช้พื้นที่ชั้นล่างของศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 7 แขวงคันนายาวเป็นที่ทำการ ต่อมาได้ย้ายมาตั้งสำนักงานเขตถาวรริมคลองครุ ในซอย 01 กาญจนาภิเษก 11/5 เมื่อช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2552