จดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดอุดรธานี

รับจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด

ลักษณะของบริษัทมหาชนจำกัด

บริษัทมหาชนจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความ ประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
อาจสรุปได้ว่า พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ได้กำหนดลักษณะโครงสร้างของบริษัทมหาชนจำกัดไว้ ดังนี้

  1. จำนวนผู้ถือหุ้น มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
  2. ทุนจดทะเบียน ไม่มีการกำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไว้
  3. มูลค่าหุ้นและการชำระเงินค่าหุ้น หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
  4. จำนวนกรรมการ ต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งต้องมีที่อยู่ในประเทศไทย
การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด

การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด อาจดำเนินการโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

  1. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เริ่มโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คน ขึ้นไปดำเนินการ จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ แล้วดำเนินการจัดทำหนังสือชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้น หรือเมื่อผู้เริ่มจัดตั้งได้จองซื้อหุ้นทั้งหมดครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ก็จะเรียกประชุมจัดตั้งบริษัท หลังจากนั้นผู้เริ่มจัดตั้งจะต้องส่งมอบกิจการและเอกสารทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการของบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับเลือกตั้ง เพื่อนำความไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต่อไป
    ดูคำแนะนำขั้นตอนการจดทะเบียนตั้งบริษัทมหาชนจำกัด
  2. การแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทเอกชนอาจแปรสภาพเป็น บริษัทมหาชนจำกัดได้ เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    ดูคำแนะนำขั้นตอนการแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
“ให้เราเป็นตัวช่วยเสริมความมั่นคงของทุกธุรกิจ”

รับจดทะเบียนบริษัท ราคา 9,500 บาท


ราคารวม VAT 7% ค่าบริการและค่าธรรมเนียมต่างๆ แล้ว

รับจดทะเบียนบริษัท ราคาพิเศษ 9,500 บาท *** (ราคารวม VAT7%) ไม่มีจ่ายเพิ่ม
หมายเหตุ
*** ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท
หากทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท ติดต่อพนักงานเพื่อสอบถามรายละเอียด
*********************

สิ่งที่ลูกค้าได้รับ
ฟรี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฟรี ออกแบบตรายางให้ 3 แบบ
ฟรี ตรายางหมึกในตัว 1 อัน
ฟรี เอกสารสำหรับเปิดบัญชีธนาคาร
ฟรี แบบฟอร์มเอกสารทางบัญชี
ฟรี นามบัตรสำหรับออกใบกำกับภาษี
ฟรี คอร์สอบรมผู้ประกอบการใหม่ (มูลค่า 5,900 บาท)
ใบสำคัญจดทะเบียนพาณิชย์
หนังสือรับรองบริษัท
รายละเอียดวัตถุประสงค์บริษัท
รายงานการประชุมตั้งบริษัท
หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2)
รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3)
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
ออกแบบเว็บไซต์ องค์กร/หน่วยงาน ราคาพิเศษ 5,000 บาท

*** สิทธิพิเศษมากมาย โปรดติดต่อ Line@ : @chonlatee เพื่อรับข้อเสนอ
หรือสอบถาม โทร : 083-622-5555

รับจดทะเบียนบริษัท 9,500 บาท
จดทะเบียนบริษัท

การควบบริษัท


บริษัทมหาชนจำกัดตั้งแต่บริษัทสองบริษัทขึ้นไป หรือบริษัทมหาชนจำกัดกับบริษัทเอกชน จะควบกันเป็นบริษัทมหาชนจำกัดก็ได้ โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทที่จะควบเข้ากันลงมติไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยในกรณีที่เป็นการควบกับบริษัทเอกชนที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเอกชนนั้น จะต้องมีมติพิเศษให้ควบกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ขั้นตอนการจดทะเบียนควบบริษัทมหาชนกับบริษัทเอกชน


สถานที่ยื่นคำขอจดทะเบียน

การยื่นขอจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ยื่นต่อนายทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  2. ยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของ บริษัทตั้งอยู่
  3. ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงนายทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด


การจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนต้องชำระค่าธรรมเนียมตามประเภทการจดทะเบียนต่างๆ ดังนี้

  1. การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิบริษัท
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาทแห่งจำนวนทุนที่จดทะเบียนไว้ 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
  2. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ
    เพื่อเพิ่มทุนก่อนจดทะเบียนเป็นบริษัท
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดเพิ่มขึ้น 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
  3. การจดทะเบียนบริษัท
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาทแห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 250,000 บาท
  4. การจดทะเบียนแปรสภาพบริษัทเอกชน
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
  5. การจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท
    แห่งจำนวนทุนที่กำหนดเพิ่มขึ้น 1,000 บาท เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น
    1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 250,000 บาท
  6. การจดทะเบียนลดทุนบริษัท 500 บาท
  7. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิบริษัท นอกจากกรณีเพิ่มทุนตาม 2. 500 บาท
  8. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัท 500 บาท
  9. การจดทะเบียนตั้งกรรมการใหม่ คนละ 500 บาท
  10. การจดทะเบียนควบบริษัท 10,000 บาท
  11. การจดทะเบียนเลิกบริษัท 500 บาท
  12. การจดทะเบียนเรื่องอื่นๆเรื่องละ 500 บาท
  13. การออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 200 บาท
  14. การขอสำเนาหรือขอให้ถ่ายเอกสารพร้อมทั้งคำรับรอง หน้าละ 50 บาท ถ้าเป็นการขอสำเนาหรือ ขอถ่ายเอกสาร พร้อมทั้งคำรับรองของบริษัทนอกเขตจังหวัดอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทนั้น ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้เท่าที่จำเป็นและใช้จ่ายไปจริง
  15. การรับรองข้อความในใบทะเบียน เรื่องละ 40 บาท

หน้าที่ของบริษัทมหาชนจำกัด


  1. บริษัทต้องยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น วันประชุมสามัญประจำปีต่อนายทะเบียนภายใน 1 เดือน นับแต่วันเสร็จการประชุม
  2. บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจำปี สำเนางบการเงิน สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับ อนุมัติงบการเงิน การจัดสรรกำไร และการแบ่งเงินปันผลไปยังนายทะเบียนภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินนั้นและต้องโฆษณาทางหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 วัน
  3. บริษัทต้องจัดทำป้ายชื่อไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขา
  4. บริษัทต้องแสดงชื่อ ที่ตั้งสำนักงาน และเลขทะเบียนไว้ในจดหมายประกาศใบแจ้งความ ใบส่งของและใบเสร็จรับเงิน
  5. บริษัทต้องจัดทำใบหุ้นมอบแก่ผู้ถือหุ้นภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็น บริษัทมหาชนจำกัด หรือนับแต่วันที่ได้รับเงินค่าหุ้นครบและได้จดทะเบียนเพิ่มทุนแล้ว
  6. บริษัทต้องจัดทำทะเบียนผู้ถือหุ้น ทะเบียนกรรมการ รายงาน การประชุมคณะกรรรมการ และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท เก็บไว้ ณ สำนักงานแห่งใหญ่หรือเก็บไว้ที่บุคคลอื่นที่ได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบแล้ว
  7. บริษัทต้องจัดทำและเก็บรักษา บัญชี งบดุล บัญชีกำไรขาดทุน รวมทั้งให้ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบ และนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  8. บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจำปีของคณะกรรมการ งบดุล บัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบแล้ว ให้ผู้ถือหุ้นพร้อมหนังสือนัดประชุมสามัญประจำปี
  9. บริษัทต้องโฆษณาทางหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับเอกสารดังต่อไปนี้
    1. หนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
    2. หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
    3. การจ่ายเงินปันผล
    4. งบดุลที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ
    5. การเพิ่มทุนและลดทุน ภายหลังได้รับจดทะเบียนแล้ว
ติดต่อจดทะเบียนบริษัท

เราให้มากกว่าแค่ จดทะเบียนบริษัท


ด้วยความชำนาญ และประสบการณ์ ในงานด้านจดทะเบียนธุรกิจ กว่า 10 ปี มีลูกค้าไว้ใจให้เราดำเนินการจดทะเบียนบริษัท กว่า 1,000 ราย/ปี  ลูกค้าที่จดทะเบียนบริษัทกับเรา จะได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สูงสุด และเราจะพยายามรักษาสิทธิ์ต่างๆ ที่ลูกค้าพึงได้รับ เมื่อดำเนินการจดทะเบียน เพราะเราเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเริ่มต้นธุรกิจ และการดำเนินธุรกิจในระยะยาวให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืน ซึ่งคำแนะนำของเราล้วนเป็นเป็นประโยชน์ และช่วยเรื่องความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ

  • การจัดสรรผู้ถือหุ้นในบริษัท
  • อำนาจของกรรมการ
  • วัตถุประสงค์ที่ครอบคลุมธุรกิจในระยะยาว
  • การตลาดและสื่อประชาสัมพันธ์
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่เราให้คำแนะนำลูกค้าของเรา
สอบถามรายละเอียดหรือปรึกษาก่อนจดทะเบียนบริษัท
Line@ : @chonlatee (คลิ๊กเพื่อคุยไลน์)
Tel : 083-622-5555 (คลิ๊กเพื่อโทร)
รับจดทะเบียนบริษัท

อุดรธานี เป็นจังหวัดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางพื้นที่ลุ่มน้ำโขง เดิมพื้นที่ตรงนี้เป็นบ้านเดื่อหมากแข้งซึ่งมีมานานร่วมสมัยกับเมืองเวียงจันทน์ อาณาจักรล้านช้าง อุดรธานีได้รับการสถาปนาให้เป็นเมืองสำคัญของหัวเมืองฝ่ายเหนืออย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 4 ปี พ.ศ. 2436 โดยพลตรี พระเจ้าบรมวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เกิดจากการรวมกันของหัวเมืองฝ่ายเหนือ คือ เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหาน เมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน และบ้านเดื่อหมากแข้ง อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 564 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 7,331,438.75 ไร่) อันดับที่ 4 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และยังมีแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศและของโลก มีสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ จังหวัดอุดรธานีเคยเป็นที่ตั้งของมณฑลอุดรในสมัยรัตนโกสินทร์ มีอาณาเขตปกครองกว้างใหญ่ที่สุดในประเทศ ปัจจุบันอุดรธานีเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทั้งอากาศและทางถนนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นศูนย์กลางหน่วยงานราชการและด้านเศรษฐกิจแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมทั้งมีศูนย์ประชุมและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้วย

  • อักษรย่อ : อด
  • คำขวัญประจำจังหวัด : กรมหลวงประจักษสร้างเมือง ลือเลื่องแหล่งธรรมะ อารยธรรมบ้านเชียงมรดกโลกห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด ธรรมชาติเนรมิตทะเลบัวแดง
  • ตราประจำจังหวัด : ตราประจำจังหวัดศิลปากรเป็นผู้ออกแบบเมื่อ พ.ศ. 2483
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นเต็ง (Shorea obtusa)
  • พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด : ต้นรังหรือต้นฮัง (Shorea siamensis) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15-20 เมตร ใบรูปไข่ ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกทองกวาว (Butea monosperma)
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาสร้อยลูกกล้วยหรือปลาคุยลาม (Labiobarbus siamensis)
  • ธงประจำจังหวัด : เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแสด มีรูปท้าวเวสสุวัณซึ่งเป็นดวงตราประจำจังหวัดอยู่กลางผืนธง

ประวัติศาสตร์

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า บริเวณพื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 5,000-7,000 ปี จากหลักฐานการค้นพบที่บ้านเชียง อำเภอหนองหานและภาพเขียนสีบนผนังถ้ำที่อำเภอบ้านผือ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีระหว่างประเทศว่า ชุมชนที่เป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดอุดรธานี มีอารยธรรมความเจริญในระดับสูง และอาจถ่ายทอดความเจริญนี้ไปสู่ประเทศจีนก็อาจเป็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่บ้านเชียงนั้นสันนิษฐานว่าอาจเป็นเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่เก่าที่สุดของโลก

หลังจากยุคความเจริญที่บ้านเชียงแล้ว พื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สืบต่อมาอีกจนกระทั่งสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย นับตั้งแต่สมัยทวารวดี (พ.ศ. 1200-1600) สมัยลพบุรี (พ.ศ. 1200-1800) และสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1800-2000) จากหลักฐานที่พบคือใบเสมาสมัยทวารวดีลพบุรี และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ที่ปรักหักพังบริเวณทิวเขาภูพาน ใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ แต่ทั้งนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานชื่ออุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์แต่อย่างใด

ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์เมื่อราวปีจอ พ.ศ. 2117 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทน์ และที่เมืองหนองบัวลำภูนี่เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีนั้น จังหวัดอุดรธานีได้เกี่ยวข้องกับการศึกสงคราม กล่าวคือในระหว่างปี พ.ศ. 2369-2371 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีผู้นำคือ คุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี) กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู และได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป กระทั่งในปลายรัชสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณปี พ.ศ. 2411 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นในมณฑลอุดรธานี เนื่องมาจากพวกฮ่อซึ่งกองทัพไทยได้ยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบได้ชั่วคราว

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม
ในปี พ.ศ. 2428 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้ายกำเริบเสิบสานขึ้นอีกในมณฑลอุดรธานีและฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และมีท่าทีจะรุนแรง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือ ไปทำการปราบปรามพวกฮ่อ ในเวลานั้นเมืองอุดรธานีก็ยังไม่ปรากฏชื่อ เพียงแต่ปรากฏชื่อ “บ้านหมากแข้ง” หรือ “บ้านเดื่อหมากแข้ง” สังกัดเมืองหนองคายขึ้นการปกครองกับมณฑลอุดรธานี และกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ได้เดินทัพผ่านบ้านหมากแข้งไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนสงบ

ภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้ว ไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศลต้องการลาว เขมร และญวนเป็นอาณานิคม เรียกว่า “กรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)” ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงยอมเสียสละส่วนน้อยเพื่อรักษาประเทศไว้ จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ มีเงื่อนไขห้ามประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปราการอยู่ในรัศมี 25 กิโลเมตรของฝั่งแม่น้ำโขง

ดังนั้น หน่วยทหารไทยที่ตั้งประจำอยู่ที่เมืองหนองคาย อันเป็นเมืองศูนย์กลางของหัวเมืองหรือมณฑลอุดรธานี ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ จำต้องอพยพเคลื่อนย้ายลึกเข้ามาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อบ้านเดื่อหมากแข้ง (ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงกว่า 50 กิโลเมตร เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะมีแหล่งน้ำดี เช่น หนองนาเกลือ (หนองประจักษ์ปัจจุบัน) และหนองน้ำอีกหลายแห่งรวมทั้งห้วยหมากแข้งซึ่งเป็นลำห้วยน้ำใสไหลเย็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมทรงบัญชาให้ตั้งศูนย์มณฑลอุดรธานี และตั้งกองทหารขึ้น ณ หมู่บ้านเดื่อหมากแข้ง จึงพอเห็นได้ว่าเมืองอุดรธานีได้อุบัติขึ้นโดยบังเอิญเพราะเหตุผลทางด้านความมั่นคงและการเมืองระหว่างประเทศ อีกทั้งเหตุผลทางการค้า การคมนาคมในอดีต

อย่างไรก็ตามคำว่า “อุดร” มาปรากฏในชื่อเมืองเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2450 (พิธีตั้งเมืองอุดรธานี 1 เมษายน ร.ศ. 127 พ.ศ. 2450 โดยพระยาศรีสุริยราช วรานุวัตร “โพธิ์ เนติโพธิ์”) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีกระแสพระบรมราชโองการให้จัดตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นที่บ้านหมากแข้ง เป็นศูนย์กลางของมณฑลอุดร ครอบคลุม จังหวัด อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย เลย หนองบัวลำภู บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหารในสมัยนั้น หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้วได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ยกเลิกการปกครองในระบบมณฑลในส่วนภูมิภาคยังคงเหลือเฉพาะจังหวัดและอำเภอเท่านั้นมณฑลอุดรจึงถูกยุบเลิกไปเหลือเพียงจังหวัด “อุดรธานี” เท่านั้น อย่างไรก็ตามอุดรธานียังคงมีหน่วยงานราชการด้านการปกครองของกระทรวงต่าง ๆ ที่จัดตั้งในส่วนภูมิภาคที่แสดงเค้าโครงของศูนย์กลางการปกครองในพื้นที่อิสานตอนบน เช่น สำนักบริหารการทะเบียนราษ ภาค 4 คลังเขต 4 สรรพสามิตเขต 4 ศาล ตำรวจภูธรเขต 4 เป็นต้น

การปกครองแบ่งออกเป็น 20 อำเภอ 155 ตำบล 1,862 หมู่บ้าน อำเภอ

อำเภอเมืองอุดรธานี
อำเภอกุดจับ
อำเภอหนองวัวซอ
อำเภอกุมภวาปี
อำเภอโนนสะอาด
อำเภอหนองหาน
อำเภอทุ่งฝน
อำเภอไชยวาน
อำเภอศรีธาตุ
อำเภอวังสามหมอ
อำเภอบ้านดุง
อำเภอบ้านผือ
อำเภอน้ำโสม
อำเภอเพ็ญ
อำเภอสร้างคอม
อำเภอหนองแสง
อำเภอนายูง
อำเภอพิบูลย์รักษ์
อำเภอกู่แก้ว
อำเภอประจักษ์ศิลปาคม